กระบวนการผลิต
ความเป็นมาของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมอาชีพบ้านหาดไก่ต้อย
ความเป็นมาของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมอาชีพบ้านหาดไก่ต้อย หมู่ที่ 3 ตำบลหาดล้า อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
เมื่อปี พ.ศ. 2520
นิคมสร้างตนเองลำน้ำน่านได้ส่งเสริมให้เกษตรกรนำต้นมะม่วงหิมพานต์ มาให้ชาวบ้านตำบลหาดล้าปลูก ใช้ระยะเวลาในการปลูก 4 ปี จึงเริ่มให้ผลผลิต
แต่ชาวบ้านก็ไม่รู้จักวิธีแปรรูปเม็ดมะม่วงหิมพานต์ก็เลยพากันตัดต้นมะม่วงหิมพานต์ทิ้งจนกระทั้ง
ตาบุญ ปิสา ชาวบ้าน หาดไก่ต้อย หมู่ที่ 3 ตำบลหาดล้า ได้พยายามทดลองนำเม็ดมะม่วงฯ
มาแกะเพื่อที่จะนำเมล็ดข้างในมาบริโภค ตาบุญได้ทดลองนำเม็ดมะม่วงฯมาแช่น้ำ 1
วัน
แล้วนำมีดมาผ่าดูผลปรากฏว่าเม็ดมะม่วงฯแข็งปลอกยาก
จึงได้ทำการทดลองจนได้ผลสรุปว่านำเม็ดมะม่วงฯแช่น้ำทิ้งไว้ 3
วัน จึงนำเม็ดมะม่วงฯมาปลอกเปลือกได้
หลังจากที่ได้รู้จักวิธีการแปรรูปเม็ดมะม่วงฯแล้วนั้นตาบุญได้นำเมล็ดมะม่วงฯไปขายที่นิคมสร้างตนเองลำน้ำน่าน ผู้ซื้อให้ราคากิโลกรัมละ 50 บาท หลังจากนั้นก็นำไปขายที่โรงพยาบาลท่าปลา
ผู้ซื้อให้ราคากิโลกรัมละ 80 บาท
หลังจากนั้นตาบุญได้นำไปขายที่ร้านสหพืชผล กิโลกรัมละ 100 บาทหลังจากที่ชาวบ้านทราบว่าเม็ดมะม่วงหิมพานต์ขายได้จึงหันมาปลูกและปลอกเปลือกเพื่อนำเอาเมล็ดในออกมาจำหน่ายเป็นรายได้เสริมจนเป็นที่รู้จักจนถึงทุกวันนี้
ต่อมาเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม
พ.ศ 2546 โดยเจ้าพนักงานเคหะกิจเกษตร สำนักงานเกษตรอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นผู้แนะนำและส่งเสริมให้สมาชิกรวมกลุ่มทำกิจกรรม และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในการจัดตั้งกลุ่มครั้งแรกมีสมาชิก 16
คน โดยมี นางวันทรา ผ่านคำ
ประธานกลุ่มดำเนินกิจกรรมจักสานหญ้าคา
ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นและการเลี้ยงโค ดำเนินกิจกรรมมาได้ระยะหนึ่ง ประสบปัญหาในเรื่องการตลาด
และได้หยุดทำกิจกรรมไว้ชั่วคราว
ต่อมาเมื่อประมาณปี 2548
ทางประธานกลุ่มก็ได้ประชุมปรึกษาหารือกับสมาชิกกลุ่มในเรื่องการแก้ไขปัญหาการว่างงานสมาชิกประกอบกับนางวันทราผ่านคำประธานกลุ่มได้ศึกษาและหาข้อมูลว่าเม็ดมะม่วงหิมพานต์ของอำเภอท่าปลามีจำนวนมากแล้วเป็นที่ต้องการของต่างจังหวัดแต่สมาชิกกลุ่มกับเจอกับปัญหาการว่างงานไม่มีงานทำไม่มีรายได้ทำให้ครอบครัวเดือดร้อนต้องไปกู้เงินจากที่อื่นเพื่อมาเป็นค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือครอบครัวประธานจึงได้ไปศึกษาดูงาน
ณ โรงงานผลิตเม็ดมะม่วงหิมพานต์ จังหวัดชลบุรี
จังหวัดพิษณุโลก
และจังหวัดน่าน
ได้เห็นกรรมวิธีการผลิตการกะเทาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ด้วยเครื่องต่อมาอำเภอท่าปลาได้มีการจัดฝึกอบรมวิธีการกะเทาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ด้วยเครื่อง ประธานกลุ่มจึงได้เข้ารับการอบรม กลุ่มได้ซื้อเครื่องกะเทาะเม็ดมะม่วงหิมพานต์จำนวน 2
เครื่อง จึงนำความรู้ที่ได้มาขยายผลให้กับสมาชิก สมาชิกกลุ่มได้ทำการฝึกกะเทาะเม็ดมะม่วงด้วยเครื่องเห็นว่าการกะเทาะเม็ดมะม่วงด้วยเครื่องได้ผลผลิตเร็วกว่าการปลอกด้วยมือ
สมาชิกเห็นพ้องต้องกันว่า
เมื่อเรามีมะม่วงหิมพานต์ (มีทุน)
อยู่ในหมู่บ้านชุมชนแทนที่เราจะนำเม็ดมะม่วงไปขายเราจะมารวมกลุ่มกันแปรรูปเพื่อสร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน สมาชิกกลุ่มได้มีการระดมทุนโดยการให้ผู้ที่จะมาเป็นสมาชิกกลุ่มนั้นต้องซื้อหุ้นๆ
ละ 50
บาทแล้วแต่สมาชิกจะซื้อกี่หุ้นก็ได้เริ่มแรกมีสมาชิกจำนวน 16 คน
มีเงินหุ้น 3,100 บาท
ดังนั้นกลุ่มได้ทำการซื้อเครื่องกะเทาะมาเพิ่มจนในปัจจุบันมีจำนวน 21 เครื่อง เมื่อกลุ่มได้ดำเนินการไปสักระยะสมาชิกเห็นว่าเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว
จึงมีสมาชิกที่สนใจอยากสมัคเข้าหุ้นและเข้ามาทำงานร่วมกับกลุ่มปัจจุบันมีสมาชิก 51 คน และได้มีการเพิ่มหุ้นกันทุกสิ้นเดือนมีนาคมของทุกปีปัจจุบันมีเงินหุ้น 47,950 บาท ต่อมากลุ่มได้ทำการผลิตเมล็ดมะม่วงหิมพานต์จนเป็นที่รู้จักของตลาดทำให้สินค้าไม่พอจำหน่ายเงินทุนที่จะซื้อวัตถุดิบมีไม่เพียงพอจึงได้ไปกู้เงินจากกลุ่มแม่บ้านเกษตรจังหวัด
จำนวนเงิน 20,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6
บาท/ปี อยู่ 2
ปี
กลุ่มได้ประชุมปรึกษาหารือกันว่าเราจะทำอย่างไรที่จะไม่ต้องไปกู้เงินจากที่อื่น
มติที่ประชุมสมาชิกทุกคนลงความเห็นกันว่าเราควรที่จะมีการออมเงินเพื่อมาเป็นทุนจะได้ไม่ต้องไปกู้จากแหล่งอื่นอีก เพราะสมาชิกมีรายได้ ก็ต้องรู้จักออม สมาชิกกลุ่มมีการออมเงินเดือนละ 2 ครั้ง
ปัจจุบันมีเงินออม 518,770 บาท
หลังจากนั้นทางกลุ่มจึงได้มีการคัดเลือกคณะกรรมการขึ้นมาใหม่
และมีการปรับเปลี่ยนคณะกรรมการทุกๆ 2 ปีปัจจุบันมีคณะกรรมการกลุ่ม 9 คน ดังนี้
1.
นางวันทรา ผ่านคำ
ประธานกรรมการ
2.
นางบัวผัน จ้อยมี รองประธาน
3. นางสมพร โลมา เลขานุการ
4. นางสุนันทา
วิทยหาร
เหรัญญิก
5. นายสุนทร
ต๊ะปัญญา
ผู้ช่วยเหรัญญิก
6. นางสน นันชม
ฝ่ายตรวจสอบ
7.
นายพิศ วังเทียน ฝ่ายตรวจสอบ
8. นางวนิดา
เข็มจ้อย
ประชาสัมพันธ์
9. นางแอ็ด
ขันมูล
กรรมการการบริหารจัดการ
กลุ่มมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบดังนี้
1.
ประธาน มีหน้าที่ดูและรับผิดชอบ และบริหารภายในกลุ่มทุกด้าน
2.
รองประธาน มีหน้าที่ดำเนินการแทนประธานกรณีประธานมอบหมาย
3.
เลขานุการ มีหน้าที่จดบันทึกการประชุมและดำเนินการตามที่ประธานมอบหมาย
4.
เหรัญญิก มีหน้าที่ทำบัญชีรายรับรายจ่ายของกลุ่ม และดูแลการเงินของกลุ่ม 5. ประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่ด้านการตลาด ติดต่อลูกค้า
นำสินค้าจำหน่ายตามร้านค้าและงานเทศกาลภายใน และนอกจังหวัด
6. ฝ่ายตรวจสอบ มีหน้าที่ติดตามและตรวจสอบเรื่องการเงินและทรัพย์สินอื่นๆ
การแบ่งหน้าที่ของสมาชิกในกระบวนการผลิตเมล็ดมะม่วงหิมพานต์
แผนกรับซื้อและจัดหาวัตถุดับ กรรมการและสมาชิกช่วยกันดำเนินการ
2. แผนกต้มเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ 1
คน (อัตราค่าจ้างกิโลละ 1 บาท/ที่กะเทาะแล้ว) 3.
แผนกกะเทาะเปลือก 21 คน
(กิโลกรัมละ 22 บาท)
4. ลอกเยื่อเม็ดมะม่วงหิมพานต์ (กิโลกรัม
10 บาท)
5. คัดแยกเกรดเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ 3 คน
(วันละ 130 บาท)
6. แผนกอบเม็ดเพื่อส่งลอกเยื่อ (อัตราค่าจ้างตันละ
300 บาท)
7. แผนกซ่อมบำรุง ดูแลรักษาช่วยเหลืองานทุกอย่าง
1 คน (อัตราค่าจ้าง 6,000บาท/เดือน)
บทบาทและการมีส่วนร่วมของสมาชิกต่อกลุ่ม
สมาชิกมีส่วนร่วมในการจัดหาทุนระดมหุ้น/จัดหาวัตถุดิบ
สมาชิกนำเม็ดมะม่วงหิมพานต์ของสมาชิกเองมาขายให้แก่กลุ่มจะได้ราคาที่แพงกว่าที่กลุ่มรับซื้อจากทั่วไป
และทำกิจกรรมในกลุ่มโดยการกะเทาะเม็ดมะม่วงหิมพานต์ การลอกเยื่อเม็ดมะม่วงหิมพานต์ และการมีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตทุกขั้นตอนจนกระทั่งบรรจุหีบห่อให้แก่ลูกค้ามีการประชุมสมาชิกกลุ่มทุก
ๆ 6 เดือนหรือตามที่ประธานกำหนด
และได้รับผลประโยชน์จากการปันผลในเดือนมีนาคมของทุกปี
และมีการปันผลจากเงินฝากออมทรัพย์ทุกๆสิ้นปี(ธันวาคม)
ความมั่นคงและฐานะทางเศรษฐกิจของกลุ่ม
เดิมมีสมาชิก 16
คน ปัจจุบันมีสมาชิก 51 คน
และที่มาของวัตถุดิบส่วนหนึ่งได้จากสมาชิกนำวัตถุดิบมาขาย จะได้ราคาแพงกว่าราคาที่รับชื้อทั่วไป และอีกส่วนหนึ่งนำเงินออมของกลุ่มมาเป็นทุนหมุนเวียนของสมาชิกกลุ่มจัดซื้อเม็ดมะม่วงหิมพานต์จากหมู่บ้านใกล้เคียง เก็บไว้ให้สมาชิกกะเทาะตลอดปีไม่ต้องไปกู้เงินจากที่อื่นมาเป็นทุนและที่สำคัญไม่ต้องเสียดอกให้กับแหล่งเงินทุนอื่นนำดอกมาปันผลให้กับสมาชิกกลุ่มเอง
ปัจจุบันกลุ่มมีการ ขยายโรงเรือนให้ใหญ่ขึ้นมีวัสดุอุปกรที่สะอาดและทันสมัยปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค
ค้านการตลาด
ประธาน และเหรัญญิกจะเป็นผู้รับผิดชอบด้านการตลาดติดต่อลูกค้าจำหน่ายในร้านค้าและห้างสรรพสินค้า อาทิเช่น โรงแรมสีหราช
ห้างสรรพสินค้าฟรายเดย์ ร้านขายของชำในตลาดเทศบาลอุตรดิตถ์ ทั้งในจังหวัดและ ต่างจังหวัดเช่น กรุงเทพ นครสวรรค์
ลำปาง เชียงใหม่ พิษณุโลก
เป็นต้น
รายได้ของสมาชิกในกลุ่ม
สมาชิกที่ทำการกะเทาะเปลือก รายได้ต่อเดือน 4,500-8,000
บาท
สมาชิกลอกเยื่อ รายได้ต่อเดือน 1,500-3,500
บาท(ทำเฉพาะตอนว่างงาน)
การปันผล
การปัน ผลหุ้นในเดือนมีนาคมของทุกปีๆ ละ 1 ครั้ง โดยแยกส่วนเป็นดั่งนี้
-การปันผลให้ค่าหุ้นของสมาชิก 40 %
-สมทบทุนไว้หมุนเวียน ในกลุ่ม 30
%
-สวัสดิการกลุ่ม
– บริหารจัดการ 30 %
-ทางกลุ่มมีการจัดสวัสดิการให้กับสมาชิกกลุ่ม เช่น
การเยี่ยมไข้ กรณีนอนโรงพยาบาล
-การช่วยเหลือ กรณี ครอบครัวสมาชิกกลุ่มเสียชีวิต เช่น บิดา มารดา สามี
ภรรยา บุตร ของ สมาชิกกลุ่ม ที่เสียชีวิตทางกลุ่ม ช่วยจัดหรีดไปเคารพศพ เป็นเจ้าภาพในงานสวด อภิธรรรม ศพ และช่วยเหลือในงาน เท่าที่ทางกลุ่มจะช่วยได้
-บริจาคเงินช่วยเหลือสาธารณประโยชน์
เช่นบริจาคเงินรางวัลงานประกวดกระทงในหมู่บ้านและ อื่นๆ
- นำสมาชิกกลุ่ม ร่วมพัฒนาหมู่บ้าน ให้ความร่วมมือกับชุมชนทุกๆด้าน
- นำสมาชิกกลุ่มจัดชึ้อเทียนจำนำพรรษา มีการร่วมกันจัดกันเทศในวันออกพรรษาและประเพณี
ตานสลากกว๋ยทุกๆปี
-ปันผลจากเงินฝากออมทรัพย์ทุกสิ้นเดือนธันวาคมของทุกปี (ปันผลทั้งหมดไม่มีการแบ่งหัก)
-ปันผลพิเศษเฉพาะสมาชิกที่เป็นฝ่ายผลิตปีละ 1
ครั้งประมาณ 2,500 -4,000
บาท/คน
-สมาชิกมีการจัดงานส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ทุก 31
ธันวาคมของทุกปี
( มีแลกของขวัญ ,จับรางวัล ) สามชิกได้รับรางวัลของขัวญปีใหม่ทุกคน
ที่มาของเงินทุนกลุ่มจนถึงปัจจุบัน -สมาชิกระดมทุนแบ่งเป็นหุ้น ๆ ละ
50 บาท จำนวน 51
คน เป็นเงินหุ้น 47,950 บาท -องค์การบริหารส่วนตำบลหาดล้าสนับสนุนกลุ่มอาชีพงบประมาณ ปี
2543 เป็นเงิน 5,000
บาท
-นิคมสร้างตนเองลำน้ำน่านสนับสนุนกิจกรรมหญ้าคา ปี
2546 เป็นเงิน 10,000
บาท
-ปัจจุบันกลุ่มมีเงินทุนทั้งหมด 114,300 บาท
-กลุ่มมีการฝากเงินออมทรัพย์ทุก 15 วันปัจจุบันกลุ่มมีเงินออมทั้งหมด
518,770 บาท (ข้อมูล ณ 30 กันยายน พ.ศ 2555)
-ปัจจุบันกลุ่มมีเงินทุนหมุนเวียนทั้งหมด 633,070 บาท
-โรงกะเทาะเปลือกเม็ดมะม่วงหิมพานต์แบบถาวร 1 หลัง
-โรงเก็บเม็ดมะม่วงหิมพานต์ (เม็ดมะม่วงที่ยังไม่ได้กะเทาะเปลือก)
1 หลัง เก็บเม็ดมะม่วงได้ 150 ตัน
-โรงคัดแยกเมล็ด จัดเก็บ
และจำหน่ายเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ แบบถาวรจำนวน 1 หลัง
-เครื่องกะเทาะเม็ดมะม่วงหิมพานต์ 21
เครื่อง
-ตู้อบเมล็ดด้วยแก๊ส 1 ตู้ ( อบได้จำนวน 300 ก.ก/ครั้ง
)ใช้เวลาอบประมาณ 8 ชั้วโมง/ครั้ง
-หม้อต้ม 1 ชุด ( ต้มได้
120 ก.ก /ต้ม )ใช้เวลาต้มประมาณ 20 นาที/ต้ม
-ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ 3
ตู้ จำนวน 9 ห้อง(
อบได้จำนวน 120 ก.ก/ครั้ง)ใช้เวลาอบประมาณ3-4วัน
ผลสำเร็จของกลุ่ม
1.
สมาชิกกลุ่มมีงานทำตลอดปี
และมีรายได้เสริมให้กับครอบครัว และช่วยให้ผู้ว่างงานมีงานทำอีกทั้งยังทำให้ผู้สูงวัยและเด็ก ๆมีงานทำประจำที่บ้านและเด็กรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
2.
การมีส่วนร่วมของสมาชิกทำงานเป็นทีมมีความเสียสระ
รักใคร่ สามัคคีผูกพันเสมือนเป็น
ครอบครัวเดียวกัน
3.
กรรมการกลุ่มมีความเข้มแข็ง
เสียสระแบ่งงานทำอย่างชัดเจน
4.
นำเงินทุนหมุนเวียน 30 %
ของกลุ่มทำบรรจุภัณฑ์ในนามกลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมอาชีพบ้านหาดไก่ต้อย ขนาด 500 กรัม 1,000 กรัมและขนาดใส่ 10 กิโลกรัมให้มีบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม สะอาด
มีคุณภาพ สามารถสร้างมูลค่าให้กับตัวผลิตภัณฑ์มากยิ่งขึ้น
5. ทางกลุ่มได้ขยายโรงเรือนที่มั่นและคง ถาวรด้วยเงินของกลุ่มเองโดยไม่ต้องไปพึ่งเงินงบ ประมาณของทางราชการ
6.
กลุ่มมีความเข้มแข็งจนสามารถจัดหาวัสดุอุปกรทั้งหมดที่มีอยู่ในกลุ่มด้วยเงินของกลุ่มเอง
7. กลุ่มเป็นแหล่งศึกษาดูงานของอำเภอท่าปลาเป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับนักเรียนนักศึกษาและ หน่วยงานราชการต่างๆที่เข้ามาศึกษาดูงานทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัดที่เข้ามาเรียนรู้กับ ทางกลุ่ม
ข้อมูลการปลูกและผลิตมะม่วงหิมพานต์
เขียนโดย
Unknown
ที่
03:30
ข้อมูลการปลูกและผลิตมะม่วงหิมพานต์
1. พันธุ์ที่ปลูก ศ.ก
60-1 และ ศ.ก 60-2
2.
ต้นทุนการปลูก 1,800 บาท / ไร่
3.
ระยะการปลูก 8 x 8 เมตร 45 ต้น / ไร่
4.
อายุการเก็บเกี่ยวผลผลิต 3 - 4 ปี
เริ่มให้ผลผลิต
5.
ระยะการออกดอกประมาณ เดือนธันวาคม
- เดือนมีนาคม
6.
ระยะเวลาการเก็บเกี่ยวประมาณเดือนกุมภาพันธ์ –
กลางเดือนพฤษภาคม
7.
ผลผลิตมะม่วงหิมพานต์ต่อ 1 ไร่ จะได้เม็ดทั้งเปลือกประมาณ 400 – 600 กิโลกรัม (ขึ้นอยู่ที่อายุของต้นมะม่วงหิมพานต์
)
8.
อัตราส่วนการกะเทาะเม็ดทั้งเปลือก 5
กิโลกรัม จะได้เมล็ดขาว 1.3 กิโลกรัม
9.
ราคารับซื้อเม็ดทั้งเปลือก 20
- 35 บาท / กิโลกรัม
(ราคาไม่แน่นนอนขึ้นอยู่กับผลิตที่ออกมาแต่ละปี )
10. ราคาจำหน่ายเมล็ดที่กะเทาะเปลือกแล้วกิโลกรัมละ 200
- 320 บาท
(ราคาเมล็ดที่ยังไม่ได้ทอด )
11. ราคาจำหน่ายเมล็ดที่ทอดแล้วกิโลกรัมละ 320-350 บาท
(หมายเหตุราคานี้ไม่คงที่มีการปรับเปลี่ยนขึ้นลงอยู่ที่ความต้องการของตลาด
)
ภาพกิจกรรมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านหาดไก่ต้อย
ภาพกิจกรรมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านหาดไก่ต้อย
1. กิจกรรมด้านส่งเสริมวัฒนธรรม
ร่วมกิจกรรมวางศิลาฤกษ์ศาลา
ส่งเสริมวัฒนธรรม ถวายกัณฑ์เทศน์
พิธีทำบุญตักบาตรที่ทำการกลุ่ม
2.กิจกรรมด้านสาธารณประโยชน์
มอบทุนการศึกษาและของขวัญ
ร่วมงานกีฬา
ร่วมเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรมวัดหาดล้าเหนือ
กิจกรรมวันผู้สูงอายุ
3. กิจกรรมด้านพัฒนาศักยภาพกลุ่ม
ประกวดแผนธุรกิจ
ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการ
อบรมพัฒนาผลิตภัณฑ์
อบรมเข้าสู่ AEC ภูเรือ จังหวัดเลย
4. ตัวแทนจังหวัดประกวด KBO ระดับประเทศ
ตัวแทนจังหวัดอุตรดิตถ์ประกวด KBO ดีเด่นระดับประเทศ ที่กรุงเทพ 1
5. กิจกรรมรับรางวัล อย. คลอลิตี้ อวอร์ด
6.กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านหาดไก่ต้อยเป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงาน
คณะพระสงฆ์ศึกษาดูงาน
คณะศึกษาดูงานจากประเทศกัมพูชา
ต้อนรับคณะศึกษาดูงานจาก กรุงเทพ
คณะศึกษาดูงานจาก กรุงเทพ
สถานที่เรียนรู้ศึกษาดูงาน
การขยายพันธุ์มะม่วงหิมพานต์
เขียนโดย
Unknown
ที่
11:58
การขยายพันธุ์มะม่วงหิมพานต์
โดยทั่วไปมะม่วงหิมพานต์สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธีแต่เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด เพราะเป็นวิธีทำได้ง่าย สะดวกรวดเร็ว ได้ต้นกล้า ในปริมาณมาก ในการคัดเลือกพันธุ์ เกษตรกรควรติดต่อซื้อเมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่เชื่อถือได้ และพันธุ์ที่นิยมปลูกคือ พันธุ์ ศ.ก. 60-1 และ ศ.ก. 60-2 ลักษณะของลำต้นแข็งแรง ทนทาน ให้ปริมาณผลต่อต้นจำนวนมาก ขั้นตอนการขยายพันธุ์มะม่วงหิมพานต์ มีดังนี้
นำเมล็ดมะม่วงหิมพานต์แช่ในน้ำเปล่า 1 คืน
เตรียมดินแกลบผสมใส่ถุงดำ และนำเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ที่แช่น้ำแล้วกดลงในดินโดยคว่ำเมล็ดลง
โดยไม่ให้ดินปิดเมล็ดจนหมดรถน้ำให้ชุ่ม
หลังจากเพาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ได้ 7-10 วัน เมล็ดมะม่วงเริ่มจะงอก
ในระยะเวลาประมาณ 2 เดือน ต้นมะม่วงหิมพานต์จะเจริญเติบโต พร้อมที่จะย้ายลปลูกในแปลง
โดยขุดหลุมให้กว่าง ยาว ลึก ประมาณ 50 ซ.ม. ระยะห่างระหว่างต้น และระหว่างแถว 6 เมตร
ผสมปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก 3-5 ก.ก. ลุกเคล้ากับดินที่กองไว้กลบลงในหลุมประมาณคลรึ่งหลุม
นำต้นมะม่วงหิมพานต์วางงในหลุมให้โคนต้นโยก แล้วนำดินที่เหลือกลบหลุมให้แน่น
มะม่วงหิมพานต์หลังปลูกถึงอายุ 2 ปี ควรใส่ปุ๋ย 12-24-12 อัตราส่วน 300 - 800 กรัม/ต้น/ปี
ในช่วงเดือนมิถุนายน,กันยายน และธันวาคม
หลังจากที่ต้นอายุได้ 3 ปี จะออกดอกเต็มในช่วงเดือนธันวาคม-เดือนมกราคม หลังจากนั้น
ดอกจะออกดกลง
หลังจากนั้นเมล็ดมะม่วงหิมพานต์อ่อนก็จะเริ่มออก
ใช้เวลาออกดอกออกผลและเมล็จจะใช้เวลาประมาน 60 วัน จนผลสุก แก่เต็มที่
ขั้นตอนการกระเทาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์
เขียนโดย
Unknown
ที่
09:45
ขั้นตอนการกระเทาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์
![]() |
นำเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ที่แก่จัดที่หล่นลงกับพื้น มาตากแดดประมาณ 3-4 วัน แล้วนำเก็บไว้ รอการกระเทาะ |
มำเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ที่ตากแห่งแล้ว นำไปต้มในน้ำเดือดใช้เวลาประมาณ 15 นาที
ตักขึ้นไว้ 12 ชั่วโมง
นำเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ที่ได้ขากการต้มแล้วมาทำการกระเทาะโดยใช้เครื่องกระเทาะเปลือก
นำเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ที่กระเทาะเปลือกที่ได้นำเข้าตู้อบแก๊ส 9-10 ชั่วโมง หรือ ตากด้วยตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ 3-4 วัน
เมล็ดมะม่วงหิมพานต์์ที่อบเสร็จแล้วจะมีสีชมพู และนำไปลอกเยื่อหุ้มเมล็ดใน
เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ที่นำไปลอกเยื่อแล้วขั้นตอนต่อไปคือ นำไปอบอีกครั้งเข้าตู้อบ ใช้เวลา 30 นาที หรือ เข้าตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ใช้เวลา 1 วัน
เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ที่นำไปอบแล้วขั้นตอนต่อไปคือ คัดเมล็ดแยกขนาดตามมาตรฐานของสถานที่ผลิต
เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ที่คัดแยกขนาดแล้ว
นำเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ที่ได้จากกาคัดแยกแล้ว นำไปบรรจุหีบห่อพร้อมจำหน่าย
เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ที่นำไปอบแล้วขั้นตอนต่อไปคือ คัดเมล็ดแยกขนาดตามมาตรฐานของสถานที่ผลิต
เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ที่คัดแยกขนาดแล้ว
นำเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ที่ได้จากกาคัดแยกแล้ว นำไปบรรจุหีบห่อพร้อมจำหน่าย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)